เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 4. มหาจุนทสูตร
ชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่
โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้
ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ...
ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความ
ปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้”
ภิกษุเมื่อกล่าวอวดการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว
มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำ
ภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ
... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้
ภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น
โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...
อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา
อันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้”
ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็น
ธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญา
อันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...
อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา
อันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัด
อย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้
ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ
... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น
ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้”
เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนยากจนแต่กล่าวอวดว่ามั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์แต่
กล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะแต่กล่าวอวดว่ามีโภคะ เขาเมื่อมีกิจจำเป็น
ต้องใช้ทรัพย์สักอย่างเกิดขึ้นก็ไม่อาจนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่าย
ได้ คนทั้งหลายก็จะพึงรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นคนยากจนแต่กล่าวอวดว่ามั่งมี
เป็นคนไม่มีทรัพย์แต่กล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะแต่กล่าวอวดว่ามีโภคะ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :53 }