เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 3. กายสูตร
3. กายสูตร
ว่าด้วยธรรมที่พึงละทางกาย
[23] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่บุคคลพึงละทางกาย แต่มิใช่ทางวาจาก็มี ธรรม
ที่บุคคลพึงละทางวาจา แต่มิใช่ทางกายก็มี ธรรมที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทาง
วาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ก็มี
ธรรมที่บุคคลพึงละทางกาย แต่มิใช่ทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางกาย เพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านนั้นแลเป็นผู้
ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางกาย จะเป็นการดีหนอ ที่ท่านจะละกายทุจริต
บำเพ็ญกายสุจริต” ภิกษุนั้นถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวอยู่
จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต
นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลพึงละทางกาย แต่มิใช่ทางวาจา
ธรรมที่บุคคลพึงละทางวาจา แต่มิใช่ทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางวาจา เพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านนั้นแลเป็นผู้
ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางวาจา จะเป็นการดีหนอ ที่ท่านจะละวจีทุจริต
บำเพ็ญวจีสุจริต” ภิกษุนั้นถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวอยู่
จึงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลพึงละทางวาจา แต่มิใช่ทางกาย
ธรรมที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัดด้วย
ปัญญาแล้วจึงละได้ เป็นอย่างไร
คือ โลภะ(ความโลภ)ที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็น
ชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ โทสะ(ความประทุษร้าย) ... โมหะ(ความหลง) ...
โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ)... มักขะ(ความลบหลู่) ... ปฬาสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :50 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 3. กายสูตร
(ความตีตัวเสมอ) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่)ที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็
ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้
ความริษยาอันชั่วที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัด
ด้วยปัญญาแล้วจึงละได้
ความริษยาอันชั่ว เป็นอย่างไร
คือ เมื่อคหบดีหรือบุตรของคหบดีในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน
หรือทอง ทาส หรือผู้เข้าไปอาศัยของคหบดีหรือบุตรของคหบดีคนใดคนหนึ่ง
มีความคิดอย่างนี้ว่า “ไฉนหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ จะไม่พึงสมบูรณ์ด้วย
ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทอง”
อนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร มีความคิดอย่างนี้ว่า “ไฉนหนอ ท่านผู้นี้จะไม่พึงได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร”
นี้เรียกว่า ความริษยาอันชั่ว
ความริษยาอันชั่วที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัด
ด้วยปัญญาแล้วจึงละได้
(ความปรารถนาอันชั่วที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึง
เห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้)
ความปรารถนาอันชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จัก
เราว่า ‘เป็นผู้มีศรัทธา” เป็นผู้ทุศีล ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้
มีศีล” เป็นผู้มีสุตะน้อย ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นพหูสูต” เป็นผู้
ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้ชอบสงัด”
เป็นผู้เกียจคร้าน ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้ปรารภความเพียร”
เป็นผู้หลงลืมสติ ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มีสติตั้งมั่น” เป็นผู้
มีปัญญาทราม ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มีปัญญา” ไม่เป็น
พระขีณาสพ ปราถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นพระขีณาสพ”
นี้เรียกว่า ความปรารถนาอันชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :51 }