เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 2. อธิมุตติปทสูตร
6. ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและ
อินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและ
บุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง ฯลฯ
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ
7. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ
และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตาม
ความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่ง
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออก ฯลฯ ตามความเป็นจริง
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ
8. ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง ฯลฯ
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ฯลฯ
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ
9. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล การที่ตถาคต
เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ นี้เป็นกำลัง
ของตถาคต ฯลฯ
10. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน การที่ตถาคตทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต 10 ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้ว เป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
อธิมุตติปทสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :49 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 3. กายสูตร
3. กายสูตร
ว่าด้วยธรรมที่พึงละทางกาย
[23] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่บุคคลพึงละทางกาย แต่มิใช่ทางวาจาก็มี ธรรม
ที่บุคคลพึงละทางวาจา แต่มิใช่ทางกายก็มี ธรรมที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทาง
วาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ก็มี
ธรรมที่บุคคลพึงละทางกาย แต่มิใช่ทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางกาย เพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านนั้นแลเป็นผู้
ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางกาย จะเป็นการดีหนอ ที่ท่านจะละกายทุจริต
บำเพ็ญกายสุจริต” ภิกษุนั้นถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวอยู่
จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต
นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลพึงละทางกาย แต่มิใช่ทางวาจา
ธรรมที่บุคคลพึงละทางวาจา แต่มิใช่ทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางวาจา เพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านนั้นแลเป็นผู้
ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางวาจา จะเป็นการดีหนอ ที่ท่านจะละวจีทุจริต
บำเพ็ญวจีสุจริต” ภิกษุนั้นถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวอยู่
จึงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลพึงละทางวาจา แต่มิใช่ทางกาย
ธรรมที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัดด้วย
ปัญญาแล้วจึงละได้ เป็นอย่างไร
คือ โลภะ(ความโลภ)ที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็น
ชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ โทสะ(ความประทุษร้าย) ... โมหะ(ความหลง) ...
โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ)... มักขะ(ความลบหลู่) ... ปฬาสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :50 }