เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 6. อัฏฐกนาครสูตร
สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรม
นั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
9. ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “อากาศหาที่สุดมิได้”
อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้อากาสา-
นัญจายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมนั้นแล้ว
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5
ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
10. ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” อยู่ ฯลฯ
11. ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุอากิญจัญญาย
ตนฌานโดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” อยู่ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้
ชัดว่า ‘แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่
ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :430 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 6. อัฏฐกนาครสูตร
ในธรรมนั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จัก
ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครจึงกล่าวว่า
“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ข้าพเจ้า เมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว ได้รับ
ประตูอมตธรรม 11 ประตูคราวเดียวกัน เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์
ขุมเดียว พึงพบขุมทรัพย์ 11 ขุมคราวเดียวกัน
ข้าพเจ้า จักสามารถทำตนให้ปลอดภัยได้โดยประตูอมตธรรม 11 ประตูนี้
ประตูใดประตูหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษมีเรือน 11 ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้
บุรุษนั้นสามารถทำตนให้ปลอดภัยได้โดยประตูใดประตูหนึ่ง
ท่านผู้เจริญ ธรรมดาอัญเดียรถีย์เหล่านี้ จักแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์เพื่อ
อาจารย์ ส่วนข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านอานนท์ได้อย่างไร”
ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครนิมนต์ภิกษุสงฆ์ชาวกรุงเวสาลีและกรุง
ปาตลีบุตรให้ประชุมกันแล้ว อังคาส1ภิกษุสงฆ์นั้นให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยว
ของฉันอันประณีต ด้วยมือตนเอง นิมนต์ภิกษุให้ครองผ้ารูปละคู่ ให้ท่านพระอานนท์
ครองไตรจีวร และได้สร้างวิหาร 500 หลังถวายท่านพระอานนท์
อัฏฐกนาครสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 อังคาส เป็นคำภาษาเขมรที่นำมาใช้เป็นคำกริยาในภาษาไทย หมายถึง ถวายอาหารพระ, เลี้ยงพระ
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :431 }