เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 6. อัฏฐกนาครสูตร
ความยินดีเพลิดเพลินในธรรม1นั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น2 ไม่หวน
กลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ ของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
2. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสใน
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น3 ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ...
3. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌาน ...
4. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุ
นั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้แต่จตุตถฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้น
ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมา
จากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/16/386)
2 ภพนั้น ในที่นี้หมายถึงพรหมชั้นสุทธาวาส (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/16/386)
3 ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น แปลจากบาลีว่า “เจตโส เอโกทิภาวํ” คำว่า เอโกทิ เป็นชื่อของสมาธิ ทุติย-
ฌานชื่อว่า เอโกทิภาวะ เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น” เพราะสมาธิชื่อเอโกทินี้มีแก่จิตเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ ไม่มีแก่ชีวะ (วิ.อ. 1/11/143-144)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :428 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 6. อัฏฐกนาครสูตร
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
5. ภิกษุมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุก
สถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่
มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้เมตตา
เจโตวิมุตตินี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้น
ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและ
วิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์
อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินใน
ธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
6. ภิกษุมีกรุณาจิต ...
7. ภิกษุมีมุทิตาจิต ...
8. ภิกษุมีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้
อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะ
และวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยัง
ไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะเพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :429 }