เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 6. อัฏฐกนาครสูตร
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่หนอ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยัง
ไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่”
ทสมคหบดีถามว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้น
แห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือ
เป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า คหบดี
1. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุนั้นพิจารณา
เห็นดังนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้แต่ปฐมฌานนี้แล ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใด
สิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ก็จะเป็นโอปปาติกะ1 เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ2 สิ้นไป ด้วย

เชิงอรรถ :
1 โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย)ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่นเทวดา
และสัตว์นรกเป็นต้น (ที.สี.อ. 1/171/149) แต่ในที่นี้หมายถึงโอปปาติกะที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ
ได้ เป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามีไปเกิดในสุทธาวาส 5 ชั้นมีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้น
นั้น ๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/16/386)
2 สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ หรือกามราคะ และ
พยาบาท หรือปฏิฆะ (องฺ.นวก.23/67/379)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :427 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 6. อัฏฐกนาครสูตร
ความยินดีเพลิดเพลินในธรรม1นั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น2 ไม่หวน
กลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ ของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
2. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสใน
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น3 ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ...
3. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌาน ...
4. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุ
นั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้แต่จตุตถฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้น
ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมา
จากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/16/386)
2 ภพนั้น ในที่นี้หมายถึงพรหมชั้นสุทธาวาส (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/16/386)
3 ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น แปลจากบาลีว่า “เจตโส เอโกทิภาวํ” คำว่า เอโกทิ เป็นชื่อของสมาธิ ทุติย-
ฌานชื่อว่า เอโกทิภาวะ เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น” เพราะสมาธิชื่อเอโกทินี้มีแก่จิตเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ ไม่มีแก่ชีวะ (วิ.อ. 1/11/143-144)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :428 }