เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 5. เมตตาสูตร
11. ภิกษุนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาที่
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้เหล่านี้ มีอยู่พร้อมแก่ภิกษุนี้และภิกษุนี้ก็เห็น
ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ๆ สุภูติ ถ้าเช่นนั้น เธอพึงอยู่กับภิกษุชื่อว่ามี
ศรัทธานี้เถิด สุภูติ แต่เมื่อใด เธอหวังจะมาเยี่ยมเยือนตถาคต เมื่อนั้น เธอกับภิกษุ
ชื่อว่ามีศรัทธานี้พึงมาเยี่ยมเยือนตถาคตเถิด”
สุภูติสูตรที่ 4 จบ

5. เมตตาสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ของเมตตา
[15] ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ 11 ประการ
อานิสงส์ 11 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. หลับเป็นสุข
2. ตื่นเป็นสุข
3. ไม่ฝันร้าย
4. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
5. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
6. เทวดาทั้งหลายรักษา
7. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา กล้ำกรายไม่ได้
8. จิตตั้งมั่นได้เร็ว
9. สีหน้าสดใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :425 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 6. อัฏฐกนาครสูตร
10. ไม่หลงลืมสติตาย
11. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่ง1 ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ 11 ประการนี้
เมตตาสูตรที่ 5 จบ

6. อัฏฐกนาครสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวอัฏฐกนคร
[16] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้นแล
คหบดีชาวอัฏฐกนครชื่อว่าทสมะ2 ได้เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตร ด้วยกิจที่ต้องทำ
บางอย่าง
ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนคร ได้เข้าไปพบภิกษุรูปหนึ่งที่กุกกุฏาราม
จึงถามภิกษุนั้นว่า
“ท่านขอรับ เดี๋ยวนี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าต้องการจะพบท่าน”
ภิกษุตอบว่า “คหบดี ท่านพระอานนท์นี้อยู่ที่เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี”
ครั้งนั้น ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนคร ทำกิจที่ควรทำในเมืองปาตลีบุตรเสร็จแล้ว
ได้เข้าไปพบท่านพระอานนท์ที่เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน

เชิงอรรถ :
1 คุณวิเศษอันยอดยิ่ง ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/15/385)
2 คหบดีที่มีชื่อว่า ทสมะ (ที่ 10) เพราะถูกจัดลำดับให้อยู่ในตำแหน่งที่ 10 โดยกำหนดชาติ โคตร และตระกูล
ที่มั่งคั่งเป็นเกณฑ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/16/386)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :426 }