เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 4. สุภูติสูตร
5. ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูง
และงานต่ำ1ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถ
ทำได้ สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่จะ
ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ
สามารถทำได้ สามารถจัดได้นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
6. ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มี
ปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์
อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัยนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
7. ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา
8. ภิกษุเป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แม้การที่ภิกษุเป็นผู้
ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา
9. ภิกษุระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง
4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง
40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง 1,000 ชาติบ้าง 100,000
ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามี
ชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 5 ข้อ 17 (ปฐมนาถสูตร) หน้า 32 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :422 }