เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 4. สุภูติสูตร
ท่านพระสุภูติกราบทูลว่า “ภิกษุนี้มีศรัทธา เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา พระพุทธเจ้าข้า”
“สุภูติ ภิกษุนี้มีศรัทธา เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยศรัทธา เห็นลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายหรือ”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้ เป็นกาลสมควรแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้ เป็นกาลสมควรแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น ขอพระผู้มีพระ
ภาคโปรดตรัสลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเถิด ข้าพระองค์ก็จักทราบ ณ บัดนี้
ว่า ภิกษุนี้จะเห็นลักษณะของผู้มีศรัทธาหรือไม่”
“สุภูติ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระสุภูติทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
สุภูติ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบ
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
2. ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ
ถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ แม้การที่ภิกษุ
เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐินี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้
มีศรัทธา
3. ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มี
สหายดี มีเพื่อนดีนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
4. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย
ธรรมเป็นเครื่องที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ
นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :421 }