เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 3. นันทิยสูตร
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเข้าจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี แม้เจ้าศากยะ
พระนามว่านันทิยะก็ได้พักอยู่ตลอดพรรษา ณ กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระองค์ได้ทรง
ประกอบการงาน และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอันสมควร สมัยนั้น ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มี
จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป 3 เดือนก็จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวอย่างนี้ว่า ได้ทราบว่า ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มี
จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป 3 เดือนก็จักเสด็จจาริกไป” ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า
นันทิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับ ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบ
ข่าวว่า ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า ‘พระ
ผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป 3 เดือนก็จักเสด็จจาริกไป’ หม่อมฉันเมื่อ
จะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธ-
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ นันทิยะ การที่พระองค์เสด็จมาหาตถาคต
แล้วตรัสถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่
ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร’ นี้เป็นการสมควรแก่พระองค์ผู้เป็น
กุลบุตร นันทิยะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มีศรัทธาไม่
ประสบความสำเร็จ 1 ผู้มีศีลเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ทุศีลไม่ประสบความ
สำเร็จ 1 ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้เกียจคร้านไม่ประสบ
ความสำเร็จ 1 ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลงลืมสติไม่ประสบความ
สำเร็จ 1 ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่ประสบความ
สำเร็จ 1 ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทรามไม่ประสบความ
สำเร็จ 1
นันทิยะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม 6 ประการนี้ แล้วตั้งสติมั่นไว้ภายในตนใน
ธรรม 5 ประการเถิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :418 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 3. นันทิยสูตร
ธรรม 5 ประการนี้ คือ
1. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระ
องค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตน
ปรารภตถาคตอย่างนี้เถิด
2. พระองค์พึงระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตนปรารภธรรมอย่างนี้เถิด
3. พระองค์พึงระลึกถึงเหล่ากัลยาณมิตรว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ที่เรามีกัลยาณมิตรผู้เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์ กล่าวแนะนำ
พร่ำสอน” นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตนปรารภเหล่า
กัลยาณมิตรอย่างนี้เถิด
4. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละ
แล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือนในหมู่สัตว์ผู้ถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินกลุ้มรุม” นันทิยะ
พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในปรารภจาคะอย่างนี้เถิด
5. พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า “เทวดาเหล่าใดล่วงความเป็น
สหายแห่งเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา1แล้ว เข้าถึงกายมโนมัย2
อย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตน
หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว” นันทิยะ เทวดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ล่วง

เชิงอรรถ :
1 เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา หมายถึงเทวดาชั้นกามาวจร (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/13/384)
2 กายมโนมัยในที่นี้หมายถึงเทพกายหรือพรหมกายของผู้บำเพ็ญฌานสมาบัติแล้วบังเกิดขึ้นในพรหมโลก
ชั้นสุทธาวาสด้วยอำนาจฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/44/26,166/64)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :419 }