เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 1. ปฐมมหานามสูตร
มั่นไม่ประสบความสำเร็จ 1 ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทราม
ไม่ประสบความสำเร็จ 1
มหานามะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการนี้ แล้วเจริญธรรม 6 ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด
ธรรม 6 ประการนี้ คือ
1. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคตแล้ว
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคต
ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ1 ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม2 ย่อม
ได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์
ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่
2. พระองค์พึงระลึกถึงธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล3 ควรเรียก

เชิงอรรถ :
1 ความปลาบปลื้มอิงอรรถ(อตฺถเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอรรถกถา
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/10/96)
2 ความปลาบปลื้มอิงธรรม (ธมฺมเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระบาลี
(องฺ.ฉกฺก.อ.3/10/96)
3 ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุก
โอกาส บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. 2/54/158)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :411 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 1. ปฐมมหานามสูตร
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน1 อันวิญญูชน2พึงรู้เฉพาะตน” มหานามะ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่
ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิต
ของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภธรรม ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็
อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อม
ได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อ
มีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็น
ผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ใน
หมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญธัมมา-
นุสสติอยู่
3. พระองค์พึงระลึกถึงสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น
ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล
4 คู่ คือ 8 บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” มหานามะ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมปรารภพระสงฆ์ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มี
จิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี
ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
1 ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตน หรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ.
2/54/158)
2 วิญญูชน หมายถึงบัณฑิต (องฺ.ติก.อ. 2/54/158)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :412 }