เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 1. ปฐมมหานามสูตร
2. อนุสสติวรรค
หมวดว่าด้วยอนุสสติ
1. ปฐมมหานามสูตร1
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ 1
[11] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วย
หวังว่า “พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป 3 เดือนก็จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
พระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุจำนวน
มากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว
ล่วงไป 3 เดือนก็จักเสด็จจาริกไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรม
เป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ มหานามะ การที่พระองค์เสด็จมาหา
ตถาคตแล้วตรัสถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็น
เครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร” นี้เป็นการสมควรแก่พระ
องค์ผู้เป็นกุลบุตร มหานามะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มี
ศรัทธาไม่ประสบความสำเร็จ2 1 ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ
ผู้เกียจคร้านไม่ประสบความสำเร็จ 1 ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลง
ลืมสติไม่ประสบความสำเร็จ 1 ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้ง

เชิงอรรถ :
1 ดู มหานามสูตรที่ 10 (องฺ.ฉกฺก. 22/10/275)
2 ไม่ประสบความสำเร็จ(อาราธกะ) หมายถึงไม่ให้ถึงพร้อม ไม่ให้บริบูรณ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/11-12/
384)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :410 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 1. ปฐมมหานามสูตร
มั่นไม่ประสบความสำเร็จ 1 ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทราม
ไม่ประสบความสำเร็จ 1
มหานามะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการนี้ แล้วเจริญธรรม 6 ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด
ธรรม 6 ประการนี้ คือ
1. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคตแล้ว
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคต
ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ1 ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม2 ย่อม
ได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์
ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่
2. พระองค์พึงระลึกถึงธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล3 ควรเรียก

เชิงอรรถ :
1 ความปลาบปลื้มอิงอรรถ(อตฺถเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอรรถกถา
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/10/96)
2 ความปลาบปลื้มอิงธรรม (ธมฺมเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระบาลี
(องฺ.ฉกฺก.อ.3/10/96)
3 ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุก
โอกาส บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. 2/54/158)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :411 }