เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค รวมพระสูตรที่มัในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมได้กล่าวร้อยกรองไว้ถูกต้องดีแล้ว ไม่
ใช่ร้อยกรองไว้ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ เรา
ยอมรับ ภิกษุทั้งหลาย ถึงเราเองก็กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
โมรนิวาปสูตรที่ 10 จบ
นิสสยวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. กิมัตถิยสูตร 2. เจตนากรณียสูตร
3. ปฐมอุปนิสาสูตร 4. ทุติยอุปนิสาสูตร
5. ตติยอุปนิสาสูตร 6. พยสนสูตร
7. ปฐมสัญญาสูตร 8. มนสิการสูตร
9. สันธสูตร 10. โมรนิวาปสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :409 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 2. อนุสสติวรรค 1. ปฐมมหานามสูตร
2. อนุสสติวรรค
หมวดว่าด้วยอนุสสติ
1. ปฐมมหานามสูตร1
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ 1
[11] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วย
หวังว่า “พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป 3 เดือนก็จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
พระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุจำนวน
มากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว
ล่วงไป 3 เดือนก็จักเสด็จจาริกไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรม
เป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ มหานามะ การที่พระองค์เสด็จมาหา
ตถาคตแล้วตรัสถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็น
เครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร” นี้เป็นการสมควรแก่พระ
องค์ผู้เป็นกุลบุตร มหานามะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มี
ศรัทธาไม่ประสบความสำเร็จ2 1 ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ
ผู้เกียจคร้านไม่ประสบความสำเร็จ 1 ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลง
ลืมสติไม่ประสบความสำเร็จ 1 ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้ง

เชิงอรรถ :
1 ดู มหานามสูตรที่ 10 (องฺ.ฉกฺก. 22/10/275)
2 ไม่ประสบความสำเร็จ(อาราธกะ) หมายถึงไม่ให้ถึงพร้อม ไม่ให้บริบูรณ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/11-12/
384)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :410 }