เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 10. โมรนิวาปสูตร
ไม่อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่
แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่ย่อมเพ่ง
สันธะ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ย่อมนอบน้อม
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้น ๆ ได้
เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
สันธสูตรที่ 9 จบ

10. โมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยปริพพาชการามชื่อโมรนิวาปะ
[10] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปริพพาชการามอันเป็นที่ให้
เหยื่อแก่นกยูง เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด1
มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ
กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
1 มีความสำเร็จสูงสุด(อัจจันตนิฏฐะ) หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/10/383)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :406 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 10. โมรนิวาปสูตร
1. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ1
2. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ
3. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ
สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 ประการแม้อื่นอีก เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มี
ความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อิทธิปาฏิหาริย์2 (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
2. อาเทสนาปาฏิหาริย์3 (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์4 (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด
มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 3 ประการแม้อื่นอีก เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มีความ
เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ (องฺ.ทสก.อ. 3/12/320)
2 อิทธิปาฏิหาริย์ หมายถึงการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ ปรากฏตัวได้ หายตัวได้ เดินทะลุฝา กำแพง ภูเขาได้ ดำดินได้ เดินบนน้ำได้ นั่งขัดสมาธิในอากาศได้
เป็นต้น ดูอังคุตตรนิกายแปลเล่มที่ 20 ข้อ 61 ติกนิบาต หน้า 234
3 อาเทสนาปาฏิหาริย์ หมายถึงการกล่าวดักใจบุคคลได้ว่า ใจของบุคคลแต่ละคนเป็นอย่างไร มีสุข มีทุกข์
หรือมีวิตกเรื่องอะไร กำลังคิดอะไรอยู่เป็นต้น และคำกล่าวดักใจนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดเพี้ยนกลับกลาย
เป็นอย่างอื่นไปได้ ดูอังคุตรนิกายแปล เล่มที่ 20 ข้อ 61 ติกนิบาต หน้า 234
4 อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมายถึงการพร่ำสอนว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้
อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้” ดูอังคุตรนิกายแปล เล่มที่ 20 ข้อ 61 ติกนิบาต
หน้า 235

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :407 }