เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 9. สันธสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมนสิการ
ตา ฯลฯ ไม่ต้องมนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมมนสิการอย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ
ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน อานนท์ มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยไม่ต้องมนสิการ ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน
อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โลกนี้ โลกหน้า ไม่ต้อง
มนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”
มนสิการสูตรที่ 8 จบ

9. สันธสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระสันธะ
[9] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ในนาทิกคาม
ครั้งนั้นแล ท่านพระสันธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านดังนี้ว่า
สันธะ เธอจงเพ่ง1 อย่างการเพ่งของม้าอาชาไนย2เท่านั้น อย่าเพ่งอย่างการ
เพ่งของม้ากระจอก
การเพ่งของม้ากระจอก เป็นอย่างไร
คือ ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า ‘ข้าว
เหนียว ข้าวเหนียว’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอกที่ถูกเขาผูกไว้ใกล้ราง

เชิงอรรถ :
1 เพ่ง ในที่นี้หมายถึงคิด (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/9/382)
2 ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. 2/143/273) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงม้าที่
สามารถรู้สิ่งที่คนฝึกม้าฝึกให้ทำได้เร็ว (ขุ.ธ.อ. 7/125)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :402 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 9. สันธสูตร
ข้าวเหนียวไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจะให้เราทำเหตุอะไรหนอ
เราจะทำอะไรตอบแทนเขา’ ม้ากระจอกนั้นถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวจึงเพ่งว่า
‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ ฉันใด
บุรุษกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้
ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี มีจิตถูกกามราคะ(ความกำหนัดในกาม)กลุ้มรุม ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ ไม่รู้วิธีสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เขาจึงทำกามราคะ
เท่านั้นไว้ภายในแล้วเพ่ง เพ่งทั่วถึง เพ่งเป็นนิตย์1 เพ่งลงต่ำ มีจิตถูกพยาบาท(ความ
คิดร้าย)กลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ ... มีจิตถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
กลุ้มรุม ... มีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)กลุ้มรุม ... มีจิตถูก
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้วิธีสลัดวิจิกิจฉา
ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เขาจึงทำวิจิกิจฉาเท่านั้นไว้ภายในแล้วเพ่ง เพ่งอย่างทั่วถึง
เพ่งเป็นนิตย์ เพ่งลงต่ำ เขาอาศัยธาตุดินเพ่งบ้าง อาศัยธาตุน้ำเพ่งบ้าง อาศัยธาตุไฟ
เพ่งบ้าง อาศัยธาตุลมเพ่งบ้าง อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัย
วิญญาณัญจายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัย
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง อาศัยโลกหน้าเพ่งบ้าง
อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจบ้าง
สันธะ การเพ่งของบุรุษผู้กระจอกย่อมเป็นไปได้ อย่างนี้แล
การเพ่งของม้าอาชาไนย เป็นอย่างไร
คือ ธรรมดาว่าม้าอาชาไนยที่ดีที่ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวย่อมไม่เพ่งว่า
‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่ดีที่ถูกเขาผูกไว้
ใกล้รางข้าวเหนียวมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจะให้เราทำอะไรหนอ
เราจะทำอะไรตอบแทนเขา’ ม้าอาชาไนยนั้นถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวไม่เพ่งว่า

เชิงอรรถ :
1 เพ่งทั่วถึง เพ่งเป็นนิตย์ หมายถึงเพ่งฌานต่าง ๆ อย่างทั่วถึง หรือเพ่งต่อเนื่องไม่ขาดตอน (องฺ.เอกาทสก.
อ. 3/9/382)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :403 }