เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อานิสังสวรรค 2. เจตนากรณียสูตร
บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบ
เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุขมี
จิตเป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด’
การที่บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณ-
ทัสสนะ’ การที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็น
ธรรมดา
นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็น
อานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็น
อานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมี
ปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร
เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย
ย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์ เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น1 อย่างนี้แล
เจตนากรณียสูตรที่ 2 จบ

เชิงอรรถ :
1 ฝั่งนี้ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ 3 คือ กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส)ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน
กัมมวัฏฏ์(วงจรกรรม)ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพวิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก)ประกอบด้วยวิญญาณนามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ เวทนาซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏคืออุปัติภพคือชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น
ฝั่งโน้น หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทสก.อ. 3/2/318, องฺ.ทสก.ฏีกา 3/2-5/376)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :4 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 1. อานิสังสวรรค 3. ปฐมอุปนิสสูตร
3. ปฐมอุปนิสสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ 1
[3] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มี
อวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มี
ปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มี
ยถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ เมื่อ
นิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิ-
สารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปีติมี ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุข
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะ
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและ
วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :5 }