เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 5. ตติยอุปนิสาสูตร
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่
มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมไม่ถึงความ
บริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปีติมี ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
นิพพิทามี วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ตติยอุปนิสาสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :396 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 6. พยสนสูตร
6. พยสนสูตร
ว่าด้วยความพินาศ
[6] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษ1เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่า
ร้ายพระอริยะ เป็นไปได้2ที่ภิกษุนั้นจะถึงความพินาศอย่าง 1 ใน 11 อย่าง
ความพินาศ 11 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
2. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
3. สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
4. เป็นผู้เข้าใจผิดว่าได้บรรลุสัทธรรม
5. เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
6. ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
7. บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
8. เป็นโรคร้ายแรง
9. ถึงความวิกลจริต หรือจิตฟุ้งซ่าน
10. หลงลืมสติมรณภาพ
11. หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้ายพระ
อริยะ เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจะถึงความพินาศอย่าง 1 ใน 11 อย่าง
ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้ายพระอริยะ เป็นไปไม่
ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง 1 ใน 11 อย่าง
ความพินาศ 11 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
2. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
3. สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว

เชิงอรรถ :
1 บริภาษ ในที่นี้หมายถึงกล่าวโทษว่า “ท่านเป็นโจร ท่านเป็นคนพาล ท่านเป็นคนหลง ท่านเป็นขโมย”
(วิ.มหา. 1/92/62)
2 เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ(เหตุ)ที่ให้เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. 1/268/402)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :397 }