เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ
(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ
(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเฐยยะ(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ...
สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ
(ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 10 ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ ...
(31-510)
ราคเปยยาล จบ
ปัญจมปัณณาสก์ จบ
ทสกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :388 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 1. กิมัตถิยสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต
__________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. นิสสยวรรค
หมวดว่าด้วยนิสสัย
1. กิมัตถิยสูตร1
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับผลแห่งศีล
[1] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร(ความไม่ร้อนใจ)
เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์”
“อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)เป็นผล มีปราโมทย์เป็น
อานิสงส์”
“ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
1 สูตรที่ 1-5 ในวรรคนี้เหมือนกับสูตรที่ 1-5 ในวรรคแรกของทสกนิบาต ต่างแต่ในทสกนิบาต นิพพิทา
และวิราคะรวมเป็นข้อธรรมเดียวกันในหมวดธรรม 10 ประการ ส่วนในเอกาทสกนิบาต นิพพิทาและวิราคะ
แยกเป็นข้อธรรมคนละข้อกันในหมวดธรรม 11 ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :389 }