เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 2. สามัญญวรรค
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 20 ประการนี้แล พึงทราบว่า
เป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 30 ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม 30 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ 30. เป็นผู้พอใจความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 30 ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต
บุคคลประกอบด้วยธรรม 40 ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล
ธรรม 40 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ 40. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 40 ประการนี้แล พึงทราบว่า
เป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม 40 ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม 40 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ 40. สรรเสริญความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 40 ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต (13-16)
สามัญญวรรคที่ 2 จบ
(พึงทราบการนับสูตรในวรรคที่ 4 และที่ 5 นี้ ตามที่ ฯลฯ ไว้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :384 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[237] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 10
ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
2. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
3. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
4. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลก
ทั้งปวง)
5. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
6. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
7. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
8. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
9. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
10. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 10 ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (1)
[238] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 10 ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อนิจจสัญญา
2. อนัตตสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :385 }