เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กรชกายวรรค 9. กรชกายสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตตินี้ สตรีหรือบุรุษควรเจริญแท้ สตรีหรือบุรุษ
จะพาเอากายนี้ไปไม่ได้ สัตว์ผู้จะต้องตายนี้เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ชัดอย่าง
นี้ว่า ‘บาปกรรมอะไร ๆ ของเรานี้ที่กรชกายนี้เคยทำมาแล้ว บาปกรรมนั้นทั้งหมด
เราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป’ ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุผู้มี
ปัญญาในธรรมวินัยนี้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง อบรมแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นอนาคามี อริยสาวกมีกรุณาจิต ... มุทิตาจิต ... อุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่
1 ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน จิต
ของเรานี้เป็นปริตตจิต ยังไม่ได้อบรม แต่บัดนี้ จิตของเรานี้เป็นอัปปมาณจิตได้อบรม
ดีแล้ว กามาวจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ หากเด็กนี้จะพึงเจริญอุเบกขา
เจโตวิมุตติตั้งแต่เวลายังเป็นเด็ก เขาพึงทำบาปกรรมได้หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ทุกข์พึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมเลยหรือ”
“เป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรม พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ สตรีหรือบุรุษควรเจริญแท้ สตรีหรือ
บุรุษจะพาเอากายนี้ไปไม่ได้ สัตว์ผู้จะต้องตายนี้เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ชัด
อย่างนี้ว่า ‘บาปกรรมอะไร ๆ ของเรานี้ ที่กรชกายนี้เคยทำมาแล้ว บาปกรรมนั้น
ทั้งหมดเราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป’ ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตติ
ที่ภิกษุผู้มีปัญญาในธรรมวินัยนี้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง อบรมแล้วอย่างนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นอนาคามี”
กรชกายสูตรที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :365 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กรชกายวรรค 10. อธัมมจริยาสูตร
10. อธัมมจริยาสูตร
ว่าด้วยความประพฤติอธรรม
[220] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะความประพฤติอธรรมและ
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
“ท่านพระโคดม อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
“พราหมณ์ เพราะความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้ว จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
“ข้าพเจ้ายังไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ
นี้โดยพิสดาร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
อย่างที่ข้าพเจ้าจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ
นี้โดยพิสดารเถิด”
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
พราหมณ์นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“พราหมณ์ ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย 3
ประการ ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา 4 ประการ
ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ 3 ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :366 }