เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กรชกายวรรค 8. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก 3 ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก 4 ประการ เป็นอย่างนี้แล
เพราะวิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล 3 ประการ เพราะวิบัติ
คือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล 4 ประการ หรือเพราะวิบัติคือโทษแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล 3 ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่งกรรมที่
สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ในอัตภาพ
ถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่
กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อนั้นแล
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก 3 ประการ
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก 4 ประการ
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก 3 ประการ
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก 3
ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก 3 ประการ เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก 4
ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก 4 ประการ เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก 3
ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก 3 ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล 3 ประการ
เพราะสมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล 4 ประการ หรือเพราะสมบัติแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล 3 ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์
ทุติยสัญเจตนิกสูตรที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :363 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปํญจมปัณณาสก์] 1. กรชกายวรรค 9. กรชกายสูตร
9. กรชกายสูตร
ว่าด้วยบาปกรรมที่กรชกายเคยทำ
[219] ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ใน
อัตภาพถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึง
การทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น อริยสาวกนั้นนั่นแล
ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มี
เมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ทิศเบื้องบน1 ทิศเบื้องล่าง2
ทิศเฉียง3 แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อม
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน จิตของเรานี้เป็นปริตตจิต4ยังไม่ได้อบรม แต่บัดนี้ เป็น
อัปปมาณจิต5 ได้อบรมดีแล้ว กามาวจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่
ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ หาก
เด็กนี้พึงเจริญเมตตาเจโตวิมุตติตั้งแต่เวลายังเป็นเด็กอยู่ เขาจะพึงทำบาปกรรมได้
หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ทุกข์พึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมเลยหรือ”
“เป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรม พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
1 เบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. 1/254/435)
2 เบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาคภพ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. 1/254/435)
3 ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่หรือทิศรอบ ๆ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. 1/254/435)
4 ปริตตจิต ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีพลังน้อย เป็นจิตที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ
5 อัปปมาณจิต ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีพลังมากโดยมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย
ไม่จำกัด และเป็นจิตที่ถูกฝึกจนชำนาญ (องฺ.ทสก.อ. 3/219/380)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :364 }