เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กรชกายวรรค 6. สังสัปปติปริยายาสูตร
6. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ...
7. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ...
8. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ...
9. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ...
10. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา
แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วมี โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้
ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก’ บุคคลนั้นย่อมไม่กระเสือกกระสน
ด้วยกาย วาจา และใจ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของเขาตรง
คติของเขาก็ตรง การอุบัติของเขาก็ตรง
สำหรับบุคคลผู้มีคติตรง มีอุบัติตรง เรากล่าวว่ามีคติอย่าง 1 ใน 2 อย่าง
คือ เป็นคนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือเป็นคนมีตระกูลสูง เช่น ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาลที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก มีเงินทองมาก มีทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือก
มาก การอุบัติของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้เพราะกรรมที่มีแล้วอย่างนี้ คือ สัตว์นั้น
ย่อมอุบัติด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากย่อมถูกต้องสัตว์นี้ผู้อุบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมอย่างนี้
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว
ก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นธรรมบรรยายที่แสดงเหตุแห่งความกระเสือกกระสน
สังสัปปติปริยายสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :356 }