เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 4. อริยมัคควรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
1. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ 10. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สัจฉิกาตัพพสูตรที่ 10 จบ
อริยมัคควรรคที่ 4 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อริยมัคคสูตร 2. กัณหมัคคสูตร
3. สัทธัมมสูตร 4. สัปปุริสธัมมสูตร
5. อุปปาเทตัพพธัมมสูตร 6. อาเสวิตัพพธัมมสูตร
7. ภาเวตัพพธัมมสูตร 8. พหุลีกาตัพพสูตร
9. อนุสสริตัพพสูตร 10. สัจฉิกาตัพพสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :342 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 5. อปรปุคควรรค 1. นเสวิตัพพาทิสูตร
5. อปรปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล อีกหมวดหนึ่ง
1. นเสวิตัพพาทิสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรเสพ1เป็นต้น
[199] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม
10 ประการ เป็นผู้ไม่ควรเสพ
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล

1. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ 2. เป็นผู้ลักทรัพย์
3. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม 4. เป็นผู้พูดเท็จ
5. เป็นผู้พูดส่อเสียด 6. เป็นผู้พูดคำหยาบ
7. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ 8. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
9. เป็นผู้มีจิตพยาบาท 10. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเสพ
บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรเสพ
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล
1. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
2. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
3. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
4. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
5. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
6. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 155 (เสวิตัพพสูตร) หน้า 298 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :343 }