เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 8. ทุติยนาถสูตร
8. ทุติยนาถสูตร
ว่าด้วยนาถกรณธรรม สูตรที่ 2
[18] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ นาถกรณธรรม 10 ประการนี้
นาถกรณธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะ1ก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า
เป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรใน
ปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อัน
ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้2 แต่

เชิงอรรถ :
1 พระเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ 10 ขึ้นไป
และทรงจำพระปาติโมกข์ได้ พระมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีพรรษาตั้งแต่ครบ 5 แต่ยังไม่ถึง 10
พระนวกะ หมายถึงพระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า 5 ที่ยัง
ต้องถือนิสสัย (เทียบ วิ.อ. 1/45/253)
2 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 14 (เจโตขีลสูตร) หน้า 22 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :34 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 8. ทุติยนาถสูตร
ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
2. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้
เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าว
สั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่ง
ธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
หนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์
แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
3. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็น
มัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่ง
สอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อัน
ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่
ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
4. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะ
ก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า
‘ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็น
เถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญ
อย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถ-
กรณธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :35 }