เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 4. อริยมัคควรรค 6. อาเสวิตัพพธัมมสูตร
ธรรมของสัตบุรุษ อะไรบ้าง คือ
1. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ 10. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมของสัตบุรุษ
สัปปุริสธัมมสูตรที่ 4 จบ

5. อุปปาเทตัพพธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น และที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
[193] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นและธรรมที่ไม่ควรให้
เกิดขึ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
1. ปาณาติบาต ฯลฯ 10. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
1. เจตนางดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ 10. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น
อุปปาเทตัพพธัมมสูตร ที่ 5 จบ

6. อาเสวิตัพพธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ1
[194] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
1. ปาณาติบาต ฯลฯ 10. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเสพ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 150 (อาเสวิตัพพสูตร) หน้า 294 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :339 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 4. อริยมัคควรรค 8. พหุลีกาตัพพสูตร
ธรรมที่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
1. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ 10. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเสพ
อาเสวิตัพพธัมมสูตรที่ 6 จบ

7. ภาเวตัพพธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเจริญ และที่ไม่ควรเจริญ
[195] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเจริญและธรรมที่ไม่ควรเจริญ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ
1. ปาณาติบาต ฯลฯ 10. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเจริญ
ธรรมที่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ
1. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ 10. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเจริญ
ภาเวตัพพธัมมสูตรที่ 7 จบ

8. พหุลีกาตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้มาก และที่ไม่ควรทำให้มาก
[196] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้มากและธรรมที่ไม่ควร
ทำให้มากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก อะไรบ้าง คือ
1. ปาณาติบาต ฯลฯ 10. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :340 }