เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. สาธุวรรค 4. อัตถสูตร
3. กุสลสูตร
ว่าด้วยกุศลธรรม และอกุศลธรรม
[180] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกุศลธรรมและอกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อกุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
1. ปาณาติบาต ฯลฯ 10. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อกุศลธรรม
กุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
1. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ 10. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กุศลธรรม
กุสลสูตรที่ 3 จบ

4. อัตถสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นประโยชน์ และที่ไม่เป็นประโยชน์
[181] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นประโยชน์และธรรมที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
1. ปาณาติบาต ฯลฯ 10. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์
ธรรมที่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
1. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ 10. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นประโยชน์
อัตถสูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :332 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 3. สาธุวรรค 6. สาสวสูตร
5. ธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม และอธรรม
[182] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมและอธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อธรรม อะไรบ้าง คือ
1. ปาณาติบาต ฯลฯ 10. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธรรม
ธรรม อะไรบ้าง คือ
1. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ 10. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรม
ธัมมสูตรที่ 5 จบ

6. สาสวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีอาสวะ และที่ไม่มีอาสวะ
[183] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีอาสวะและธรรมที่ไม่มีอาสวะแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
1. ปาณาติบาต ฯลฯ 10. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีอาสวะ
ธรรมที่ไม่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
1. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ 10. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีอาสวะ
สาสวสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :333 }