เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. ชาณุสโสณิวรรค 10. จุนทสูตร
รู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง
เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
2. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้
หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ยุยงคนที่
สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่แตก
แยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน
3. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่หยาบคาย กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่
เป็นไปเพื่อสมาธิ
4. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์
พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่
กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
จุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจา 4 อย่าง เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะอาดทางใจ 3 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
1. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม
ใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
2. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูก
ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’
3. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
จุนทะ ความไม่สะอาดทางใจ 3 อย่าง เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :321 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. ชาณุสโสณิวรรค 10. จุนทสูตร
อกุศลกรรมบถ 10 ประการนี้แลที่บุคคลประกอบแล้ว เมื่อลุกขึ้นจากที่นอน
แต่เช้าตรู่ แม้จะจับต้องแผ่นดินก็ตาม ไม่จับต้องแผ่นดินก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่
ได้เลย แม้จะจับต้องโคมัยสดก็ตาม ไม่จับต้องโคมัยสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่ได้
แม้จะจับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ไม่จับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่ได้
แม้จะบำเรอไฟก็ตาม ไม่บำเรอไฟก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่ได้ แม้จะประคองอัญชลี
นอบน้อมดวงอาทิตย์ก็ตาม ไม่ประคองอัญชลีนอบน้อมดวงอาทิตย์ก็ตาม ก็เป็นผู้
สะอาดไม่ได้ แม้จะลงน้ำวันละ 3 ครั้งก็ตาม ไม่ลงน้ำวันละ 3 ครั้งก็ตาม ก็เป็น
ผู้สะอาดไม่ได้อยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอกุศลกรรมบถ 10 ประการนี้เป็น
ธรรมไม่สะอาด และเป็นเหตุก่อให้เกิดความไม่สะอาด
จุนทะ เพราะเหตุที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ 10 ประการนี้ จึงปรากฏมี
ทั้งนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น
จุนทะ ความสะอาดทางกาย 3 อย่าง ความสะอาดทางวาจา 4 อย่าง ความ
สะอาดทางใจ 3 อย่าง
ความสะอาดทางกาย 3 อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
1. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
2. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
จิตเป็นเหตุขโมย
3. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติล่วง
ในสตรีที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ใน
ปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ใน
ปกครองของญาติ ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดย
ที่สุดแม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
ความสะอาดทางกาย 3 อย่าง เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :322 }