เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 7. ปฐมนาถสูตร
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ1 แม้
การที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
3. เป็นผู้มีมิตรดี2 มีสหายดี3 มีเพื่อนดี4 แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มี
สหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
4. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย
ธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
5. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ
งานต่ำ5ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะ
ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ
สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
6. เป็นผู้ใคร่ธรรม6 เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์
อย่างยิ่งในอภิธรรม7 ในอภิวินัย8 แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟัง

เชิงอรรถ :
1 แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ หมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/22/300)
2 มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรม คือศีลเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)
3 สหายดี หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี (องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)
4 เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนม รู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)
5 งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ เรือน
พระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)
งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อย มีล้างเท้า และนวดเท้าเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)
6 ผู้ใคร่ธรรม ในที่นี้หมายถึงรักพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก (องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)
7 อภิธรรม หมายถึงสัตตัปปกรณธรรม คืออภิธรรม 7 คัมภีร์ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ มรรค 4 และผล 4
(องฺ.ทสก.อ. 3/17/323)
8 อภิวินัย หมายถึงขันธกปริวาร หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องระงับกิเลส (องฺ.ทสก.อ. 3/17/
323)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :32 }