เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. ชาณุสโสณิวรรค 7. ตติยอธัมมสูตร
เจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น
ประโยชน์
2. อทินนาทานเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
3. กาเมสุมิจฉาจารเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ1
4. มุสาวาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นสิ่งที่เป็น
ธรรม ฯลฯ
5. ปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม ฯลฯ
6. ผรุสวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นสิ่งที่เป็น
ธรรม ฯลฯ
7. สัมผัปปลาปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็น
สิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ
8. อภิชฌาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อนภิชฌาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ
9. พยาบาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อพยาบาทเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ
10. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์
ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ตติยอธัมมสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ 172 (ทุติยอธัมมสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :315 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. ชาณุสโสณิวรรค 8. กัมมนิทานสูตร
8. กัมมนิทานสูตร
ว่าด้วยต้นเหตุแห่งกรรม
[174] ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต เรากล่าวว่า มี 3 อย่างคือ
1. ปาณาติบาตมีโลภะเป็นเหตุ
2. ปาณาติบาตมีโทสะเป็นเหตุ
3. ปาณาติบาตมีโมหะเป็นเหตุ
อทินนาทาน เรากล่าวว่า มี 3 อย่าง คือ
1. อทินนาทานมีโลภะเป็นเหตุ
2. อทินนาทานมีโทสะเป็นเหตุ
3. อทินนาทานมีโมหะเป็นเหตุ
กาเมสุมิจฉาจาร เรากล่าวว่า มี 3 อย่าง คือ
1. กาเมสุมิจฉาจารมีโลภะเป็นเหตุ
2. กาเมสุมิจฉาจารมีโทสะเป็นเหตุ
3. กาเมสุมิจฉาจารมีโมหะเป็นเหตุ
มุสาวาท เรากล่าวว่า มี 3 อย่าง คือ
1. มุสาวาทมีโลภะเป็นเหตุ
2. มุสาวาทมีโทสะเป็นเหตุ
3. มุสาวาทมีโมหะเป็นเหตุ
ปิสุณาวาจา เรากล่าวว่า มี 3 อย่าง คือ
1. ปิสุณาวาจามีโลภะเป็นเหตุ
2. ปิสุณาวาจามีโทสะเป็นเหตุ
3. ปิสุณาวาจามีโมหะเป็นเหตุ
ผรุสวาจา เรากล่าวว่า มี 3 อย่าง คือ
1. ผรุสวาจามีโลภะเป็นเหตุ
2. ผรุสวาจามีโทสะเป็นเหตุ
3. ผรุสวาจามีโมหะเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :316 }