เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. ชาณุสโสณิวรรค 6. ทุติยอธัมมสูตร
และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้แล พระ
ศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถ
จะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่
พวกเรา’ ขอท่านมหากัจจานะจงจำแนกเถิด”
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่
เฉพาะหน้าผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย
สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามข้าพเจ้า เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้น
ไปเสีย สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนพึงแสวงหา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นผู้มีพระจักษุ1 มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้
ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้
ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานั้นแล เป็นเวลาสมควรที่ท่านทั้งหลาย
พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านมหากัจจานะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง
แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่
ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานั้นแล เป็นเวลาสมควรที่กระผมทั้งหลายพึง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านมหากัจจานะเอง พระ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1-5 หน้า 262 และเชิงอรรถที่ 1-3 หน้า 263 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :310 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. ชาณุสโสณิวรรค 6. ทุติยอธัมมสูตร
ศาสดาทรงสรรเสริญ และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ย่อมสามารถจะ
จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านมหากัจจานะไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
พระมหากัจจานะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
1. ปาณาติบาตเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นสิ่ง
ที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็น
ปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
เป็นประโยชน์
2. อทินนาทานเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
3. กาเมสุมิจฉาจารเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะกาเมสุ
มิจฉาจารเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :311 }