เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 2. ชาณุสโสณิวรรค 2. อริยปัจโจโรหณิสูตร
พราหมณ์ พิธีลอยบาปในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของพราหมณ์
ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปในอริยวินัยก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปของ
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งพิธีลอยบาปในอริยวินัยนี้ ท่านพระ
โคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้า
พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
พราหมณปัจโจโรหณิสูตรที่ 1 จบ

2. อริยปัจโจโรหณิสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาปของพระอริยะ
[168] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะแก่เธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปาณาติบาตมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปาณาติบาต ลอยปาณาติบาต
2. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อทินนาทานมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอทินนาทาน ลอยอทินนาทาน
3. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า กาเมสุมิจฉาจารมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละกาเมสุมิจฉาจาร ลอยกาเมสุมิจฉาจาร
4. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มุสาวาทมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมุสาวาท ลอยมุสาวาท
5. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปิสุณาวาจามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปิสุณาวาจา ลอยปิสุณาวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :303 }