เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 6. อาหุเนยยสูตร
4. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต1
5. ท่านผู้เป็นกายสักขี2
6. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ3
7. ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต4
8. ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี5
9. ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี6
10. ท่านผู้เป็นโคตรภู7
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 10 จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อาหุเนยยสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ มิได้สัมผัส
วิโมกข์ 8 แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
2 ท่านผู้เป็นกายสักขี (ผู้เป็นพยานในนามกาย) หมายถึงท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยนามกาย และอาสวะ
บางส่วนก็สิ้นไปเพราะรู้เห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้
ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
3 ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) หมายถึงผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้องและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป
เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มี
ปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
4 ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) หมายถึงเข้าใจอริยสัจถูกต้อง ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุ
โสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/
14/161)
5 ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม) หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บำเพ็ญอริยมรรค ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลมีปัญญาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/162)
6 ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา) คือท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อบรรลุ
โสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/162)
7 ท่านผู้เป็นโคตรภู หมายถึงผู้ประกอบด้วยวิปัสสนาจิตที่มีพลังถึงที่สุดโดยเป็นปัจจัยที่ต่อเนื่องกันถึง
โสดาปัตติมรรค, หรือท่านผู้ประกอบด้วยโคตรภูญาณ(ญาณครอบโคตร คือญาณที่เป็นหัวต่อระหว่างภาวะ
ปุถุชนกับภาวะอริยบุคคล)อันมีนิพพานเป็นอารมณ์ หมายเอาผู้ปฏิบัติกำลังจะเข้าสู่ขั้นอริยบุคคลชั้นโสดา-
ปัตติมรรค (องฺ.นวก.อ. 3/8-10/291, องฺ.ทสก.อ. 3/16/322)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :30 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 7. ปฐมนาถสูตร
7. ปฐมนาถสูตร
ว่าด้วยนาถกรณธรรม สูตรที่ 1
[17] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง
อยู่เลย บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ นาถกรณธรรม(ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง)
10 ประการนี้
นาถกรณธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์1 เพียบพร้อมด้วยอาจาระ2
(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ3 สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด

เชิงอรรถ :
1 สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ
หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. 1/14/17)
2 อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทาง
วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือการไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิด ที่พระพุทธเจ้ารังเกียจ เช่น ไม่เลี้ยง
ชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่าคฤหัสถ์
ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว (วิสุทฺธิ. 1/
14/18)
โคจร หมายถึงสถานที่เที่ยวไปของภิกษุซึ่งไม่มีหญิงแพศยา(โสเภณี) ไม่มีหญิงหม้าย ไม่มีสาวเทื้อ(สาวแก่)
ไม่มีบัณเฑาะก์ ไม่มีภิกษุณี ไม่มีร้านสุรา ไม่เป็นสถานที่ต้องคลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ และ
พวกเดียรถีย์ ตรงกันข้าม ต้องเป็นสถานที่ของตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้า
กาสาวะ อบอวลด้วยกลิ่นฤๅษี ใคร่ความผาสุกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นสถานที่ที่ภิกษุ
สำรวมอินทรีย์ 6 งดเว้นการขวนขวายในการดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อกุศล เช่น การฟ้อน ขับร้อง
ประโคมดนตรี หรือหมายถึงสติปัฏฐาน 4 (ขุ.ม. 29/196/404, วิสุทฺธิ. 1/14/17-18)
3 สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9) คือ (1)สุตตะ(พระสูตรทั้งหลายรวม
ทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (2) เคยยะ(ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถา
ทั้งหมด) (3) เวยยากรณะ(ความร้อยแก้ว) (4) คาถา(ข้อความร้อยกรอง) (5) อุทาน(พระคาถาพุทธอุทาน)
(6) อิติวุตตกะ พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง (7) ชาตกะ (ชาดก 550 เรื่อง) (8) อัพภูตธรรม(เรื่องอัศจรรย์)
(9) เวทัลละ(พระสูตรแบบถาม-ตอบ) ดู องฺ.จตุกฺก. 21/6/7, องฺ.ปญฺจก. 22/73/80

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :31 }