เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. ปุคคลวรรค 1. เสวิตัพพสูตร
4. จตุตถปัณณาสก์
1.ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
1. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรเสพ1
[155] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 10
ประการ เป็นผู้ไม่ควรเสพ
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) 2. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
3. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) 4. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
5. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) 6. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
7. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) 8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
9. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) 10. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 10. ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเสพ
บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรเสพ
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)


เชิงอรรถ :
1 เสพ ในที่นี้หมายถึงเข้าไปหา (องฺ.ติก.อ. 2/26/104)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :298 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. ปุคคลวรรค 2-12. ภชิตัพพาทิสูตร

7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
9. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) 10. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ
เสวิตัพพสูตรที่ 1 จบ

2-12. ภชิตัพพาทิสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ1เป็นต้น
[156] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ไม่ควรคบ ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรคบ ...
[157] บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้2 ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรเข้าไปนั่งใกล้ ...
[158] บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ไม่ควรบูชา ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรบูชา ...
[159] บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ไม่ควรสรรเสริญ ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ...
[160] บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ไม่ควรเคารพ ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ...
[161] บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ไม่ควรยำเกรง ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ...
[162] บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ไม่ควรให้ยินดี ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ...
[163] บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อมไม่บริสุทธิ์ ... บุคคล
ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ...

เชิงอรรถ :
1 คบ ในที่นี้หมายถึงให้ความสนิทสนม (องฺ.ติก.อ. 2/26/104)
2 เข้าไปนั่งใกล้ หมายถึงเข้าไปนั่งใกล้แล้วสักการะ เคารพอยู่เสมอ ๆ (องฺ.ติก.อ. 2/26/104)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :299 }