เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 5. อริยมัคควรรค 10. สัจฉิกาตัพพสูตร
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 10. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สัจฉิกาตัพพสูตรที่ 10 จบ
อริยมัคควรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อริยมัคคสูตร 2. กัณหมัคคสูตร
3. สัทธัมมสูตร 4. สัปปุริสธัมมสูตร
5. อุปปาเทตัพพสูตร 6. อาเสวิตัพพสูตร
7. ภาเวตัพพสูตร 8. พหุลีกาตัพพสูตร
9. อนุสสริตัพพสูตร 10. สัจฉิกาตัพพสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :297 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [4. จตุตถปัณณาสก์] 1. ปุคคลวรรค 1. เสวิตัพพสูตร
4. จตุตถปัณณาสก์
1.ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
1. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรเสพ1
[155] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 10
ประการ เป็นผู้ไม่ควรเสพ
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) 2. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
3. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) 4. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
5. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) 6. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
7. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) 8. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
9. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) 10. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 10. ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเสพ
บุคคลประกอบด้วยธรรม 10 ประการ เป็นผู้ควรเสพ
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)


เชิงอรรถ :
1 เสพ ในที่นี้หมายถึงเข้าไปหา (องฺ.ติก.อ. 2/26/104)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :298 }