เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. ปัจโจโรหณิวรรค 4. อชิตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะ1ที่ไม่เป็นธรรมด้วย
วาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่
ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น
จึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็น
บัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม
และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะ
วาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะทั้งที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรม
ด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วย
วาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
นั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็น
บัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่ไม่เป็นธรรม ด้วยวาทะที่เป็นธรรม
และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรมนั้น เพราะ
วาทะที่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่เป็นธรรม
และย่อมชักนำบริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรมนั้น เพราะ
วาทะที่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’

เชิงอรรถ :
1 วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ(ความเชื่อถือ)หรือแนวคิดความเห็น (องฺ.ติก.อ. 2/66/202) เช่น อุจเฉทวาทะ
คือลัทธิที่ถือว่าตายแล้วไม่เกิดอีก เป็นแนวคิดเชิงวัตถุนิยม ลัทธินี้ทำให้มนุษย์หมกมุ่นในกามสุข (ที.สี.อ.
84/110) หรือ อมราวิกเขปวาทะ คือลัทธิที่มีความเห็นหลบเลี่ยงไม่แน่นอนว่าใช่หรือไม่ใช่ เป็นความเห็น
ที่ลื่นไหลจับได้ยากเหมือนปลาไหล (ที.สี.อ. 61/106)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :267 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. ปัจโจโรหณิวรรค 4. อชิตสูตร
บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
และเป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
1. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
2. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
3. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
4. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
5. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
6. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
7. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
8. สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
9. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
10. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์
ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
อชิตสูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :268 }