เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. ปัจโจโรหณิวรรค 3. ตติยอธัมมสูตร
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
1. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
2. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
3. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
4. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
5. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
6. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวายามะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
7. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
8. มิจฉาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
9. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...1
10. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและ
เป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไป
ยังพระวิหาร ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 114 (ทุติยอธัมมสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :264 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. ปัจโจโรหณิวรรค 3. ตติยอธัมมสูตร
เมื่อหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่าน
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระอานนท์แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์
ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตาม
ที่ท่านตอบแก่พวกเรา’ ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึง
ที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้า
พระองค์ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :265 }