เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 6. นิชชรสูตร
5. เมื่อมีสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย มิจฉาอาชีวะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรม
เป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และ
กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาอาชีวะเป็น
ปัจจัย
6. เมื่อมีสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรม
เป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย
7. เมื่อมีสัมมาสติ มิจฉาสติย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก ที่
เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย
8. เมื่อมีสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก
ที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย
9. เมื่อมีสัมมาญาณะ มิจฉาญาณะย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาญาณะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรม
เป็นอันมากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย
10. เมื่อมีสัมมาวิมุตติ มิจฉาวิมุตติย่อมเสื่อมไป บาปอกุศลธรรมเป็นอันมาก
ที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอัน
มากย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเสื่อม 10 ประการนี้แล
นิชชรสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :249 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 7. โธวนสูตร
7. โธวนสูตร
ว่าด้วยธรรมเนียมการล้างกระดูกผู้ตาย
[107] ภิกษุทั้งหลาย ในทักขิณาชนบท มีธรรมเนียมการล้างกระดูกของ
ญาติผู้ตาย ในธรรมเนียมการล้างกระดูกนั้น มีข้าวบ้าง น้ำบ้าง ของเคี้ยวบ้าง ของ
บริโภคบ้าง เครื่องลิ้มบ้าง เครื่องดื่มบ้าง การฟ้อนรำบ้าง เพลงขับบ้าง การประโคม
บ้าง ธรรมเนียมการล้างนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่การล้างนั้นแลเป็นของเลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของพระอริยะ ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
เราจักแสดงการล้างอันเป็นของพระอริยะที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ซึ่งสัตว์
ทั้งหลายผู้มีชาติ(ความเกิด)เป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชรา(ความ
แก่)เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะ(ความตาย)เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ
ผู้มีโสกะ(ความโศก) ปริเทวะ(ความร่ำไร) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การล้างอันเป็นของพระอริยะที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีชาติเป็นธรรมดาอาศัยแล้วย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็น
อย่างไร คือ
1. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมล้างมิจฉาทิฏฐิได้ ล้างบาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่
เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้ และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :250 }