เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 4. พีชสูตร
4. พีชสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมล็ดพืช
[104] ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่
ทิฏฐิ(ความเห็น) วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และ
สังขารทั้งหลายของบุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ
มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ และมิจฉาวิมุตติ
ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเลวทราม
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิเลวทราม เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่
บุคคลเพาะไว้ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ดสะเดาเป็นต้น
นั้นเลว
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้
บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ
เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิดี
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ ... ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะทิฏฐิดี เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อย พันธุ์ข้าวสาลี หรือเมล็ดจันทน์ที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของ
หวาน น่าอร่อย น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพันธุ์อ้อยเป็นต้นนั้นดี
พีชสูตรที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :246 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. สมณสัญญาวรรค 5. วิชชาสูตร
5. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา
[105] ภิกษุทั้งหลาย อวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง)เป็นประธานแห่งการเข้าถึง
อกุศลธรรม อหิริ(ความไม่อายบาป) อโนตตัปปะ(ความไม่กลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย
1. ผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้ง ย่อมมีมิจฉาทิฏฐิ
2. ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ
3. ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีมิจฉาวาจา
4. ผู้มีมิจฉาวาจา ย่อมมีมิจฉากัมมันตะ
5. ผู้มีมิจฉากัมมันตะ ย่อมมีมิจฉาอาชีวะ
6. ผู้มีมิจฉาอาชีวะ ย่อมมีมิจฉาวายามะ
7. ผู้มีมิจฉาวายามะ ย่อมมีมิจฉาสติ
8. ผู้มีมิจฉาสติ ย่อมมีมิจฉาสมาธิ
9. ผู้มีมิจฉาสมาธิ ย่อมมีมิจฉาญาณะ
10. ผู้มีมิจฉาญาณะ ย่อมมีมิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย วิชชา(ความรู้แจ้ง)เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย
หิริ(ความอายบาป)และโอตตัปปะ(ความกลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย
1. ผู้มีวิชชาเห็นแจ้ง ย่อมมีสัมมาทิฏฐิ
2. ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ
3. ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา
4. ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ
5. ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ
6. ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :247 }