เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 10. อภัพพสูตร
“อุบาลี สาวกทั้งหลายของเราเมื่อพิจารณาเห็นธรรมแม้นี้ในตน จึงอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบอยู่ แต่สาวกของเราเหล่านั้นยังไม่บรรลุ
ประโยชน์ของตนก่อน อุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญ
จักมี1’
อุปาลิสูตรที่ 9 จบ

10. อภัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผล
[100] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม 10 ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ราคะ (ความกำหนัด) 2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. โมหะ (ความหลง) 4. โกธะ (ความโกรธ)
5. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) 6. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน)
7. ปฬาสะ (ความตีเสมอ) 8. อิสสา (ความริษยา)
9. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) 10. มานะ (ความถือตัว)

บุคคลยังละธรรม 10 ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
บุคคลละธรรม 10 ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
1 อรรถกถาอธิบายว่า การที่พระผู้มีพระภาคทรงเตือนให้พระอุบาลีอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ทรงอนุญาตให้
ท่านอยู่ป่า เพราะทรงเห็นว่าการอยู่ป่าจะทำให้ท่านบำเพ็ญวิปัสสนาธุระคือการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ได้เพียงด้านเดียว ไม่สามารถบำเพ็ญคันถธุระคือการเรียนพระคัมภีร์ให้สำเร็จได้ แต่การอยู่ในท่ามกลาง
สงฆ์ จะทำให้ท่านบำเพ็ญธุระได้ทั้ง 2 ด้าน และบรรลุพระอรหัตตผลได้ด้วย ทั้งจักเป็นหัวหน้าในการ
สังคายนาพระวินัยปิฎก (องฺ.ทสก.อ. 3/99/371)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :240 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

1. ราคะ 2. โทสะ
3. โมหะ 4. โกธะ
5. อุปนาหะ 6. มักขะ
7. ปฬาสะ 8. อิสสา
9. มัจฉริยะ 10. มานะ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 10 ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
อภัพพสูตรที่ 10 จบ
อุปาสกวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. กามโภคีสูตร 2. ภยสูตร
3. กิงทิฏฐิกสูตร 4. วัชชิยมาหิตสูตร
5. อุตติยสูตร 6. โกกนุทสูตร
7. อาหุเนยยสูตร 8. เถรสูตร
9. อุปาลิสูตร 10. อภัพพสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :241 }