เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 7. อาหุเนยยสูตร
7. กำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า
มีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ... หรือ
ปราศจากโทสะ ... จิตมีโมหะ ... หรือปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... หรือ
ฟุ้งซ่าน ... จิตเป็นมหัคคตะ1 ... หรือไม่เป็นมหัคคตะ ... จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
... หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็นสมาธิ ... หรือไม่เป็นสมาธิ ... จิต
หลุดพ้น ... หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
8. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง
4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง 20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง 40
ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง 1,000 ชาติบ้าง 100,000
ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ
อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อม
ทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
9. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิด
ดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม
ความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าว
ร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เห็นหมู่

เชิงอรรถ :
1 มหัคคตะ แปลว่า ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต (ขุ.ป.อ. 1/104/366)
และดูอภิธรรมปิฎก แปล เล่ม 34 ข้อ 160-268 หน้า 57-85

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :230 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 8. เถรสูตร
สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมอย่างนี้แล
10. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล จึงเป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนา
บุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อาหุเนยยสูตรที่ 7 จบ

8. เถรสูตร
ว่าด้วยคุณธรรมของพระเถระ
[98] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม 10 ประการ จะอยู่ใน
ทิศใด ๆ ย่อมอยู่สำราญโดยแท้
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเถระ
1. เป็นรัตตัญญู1 บวชมานาน
2. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
3. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
4. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้2ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

เชิงอรรถ :
1 รัตตัญญู ในที่นี้หมายถึงรู้ราตรีนาน คือ บวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพ (องฺ.เอกก.อ. 1/188/122)
2 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 33 (อุพพหิกาสูตร) หน้า 84 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :231 }