เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 6. โกกนุทสูตร
ตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านก็ไม่รู้ ไม่เห็นละซิ”
“ผู้มีอายุ เราไม่รู้ ไม่เห็น ก็หามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่”
“ท่านเมื่อถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกเที่ยง นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลยว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านมีทิฏฐิอย่างนี้หรือว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เรามิได้มีทิฏฐิอย่างนั้นเลย
‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคน
ละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิด
อีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อถูกถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่รู้ไม่เห็นละซิ’ ก็กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ เราไม่รู้
ไม่เห็น ก็หามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่’ ผู้มีอายุ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเข้าใจได้
อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ข้อว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ นี้เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ นี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :227 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. อุปาสกวรรค 6. โกกนุทสูตร
เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อว่า ‘โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ...
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
นี้เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ผู้มีอายุ ทิฏฐิ1 มูลเหตุแห่งทิฏฐิ2 ทิฏฐิที่ยึดมั่น3 ทิฏฐิที่กลุ้มรุม4
ความเพิกถอนทิฏฐิ5 มีประมาณเท่าใด เรารู้ เราเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้นประมาณเท่านั้น
เรารู้ทิฏฐิเป็นต้นนั้นจึงกล่าวว่า ‘รู้อยู่’ เราเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้นจึงกล่าวว่า ‘เห็นอยู่’
เราจะกล่าวว่า ‘ไม่รู้ ไม่เห็น’ ได้อย่างไร ผู้มีอายุ เรารู้อยู่ เห็นอยู่”
“ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเรียกท่านว่าอย่างไร”
“ผู้มีอายุ เราชื่อ ‘อานนท์’ และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็เรียกเราว่า ‘อานนท์’
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าสนทนาอยู่กับอาจารย์ใหญ่ แต่ไม่รู้เลยว่าเป็น ‘ท่าน
อานนท์’ ถ้าข้าพเจ้าจะพึงรู้ว่า ‘ท่านผู้นี้คือท่านอานนท์’ ข้าพเจ้าก็จะไม่กล่าวตอบโต้
ถึงเพียงนี้ ขอท่านอานนท์จงยกโทษให้ข้าพเจ้าเถิด”
โกกนุทสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ 62 ประการ (องฺ.ทสก.อ. 3/96/369)
2 มูลเหตุแห่งทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมูลเหตุทิฏฐิ 8 ประการ คือ ขันธ์ อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโส
มนสิการ ปาปมิตร และปรโตโฆสะ(การฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น) (องฺ.ทสก.อ. 3/96/369)
3 ทิฏฐิที่ยึดมั่น นี้เป็นชื่อของทิฏฐิที่ครอบงำสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. 3/96/369)
4 ทิฏฐิที่กลุ้มรุม ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ 18 ประการ คือ (1) ทิฏฐิ(ความเห็นที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง)
(2) การตกอยู่ในทิฏฐิ (3) ความรกชัฏคือทิฏฐิ (4) ความกันดารคือทิฏฐิ (5) เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ
(6) ความดิ้นรนคือทิฏฐิ (7) เครื่องผูกคือทิฏฐิ (8) ลูกศรคือทิฏฐิ (9) ความคับแค้นคือทิฏฐิ (10)
ความกังวลคือทิฏฐิ (11) เครื่องจองจำคือทิฏฐิ (12) เหวคือทิฏฐิ (13) อนุสัยคือทิฏฐิ (14) ความ
เดือดร้อนคือทิฏฐิ (15) ความเร่าร้อนคือทิฏฐิ (16) เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ (17) อุปาทานคือทิฏฐิ, ความ
ยึดมั่นคือทิฏฐิ (18) ความยึดมั่นถือมั่นคือทิฏฐิ (องฺ.ทสก.อ. 3/96/369, ขุ.ป.อ. 127-128/53) และ
ดู ขุ.ป. 29/12/40
5 ความเพิกถอนทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค ที่ชื่อว่า ทิฏฐิสมุคฆาตะ เพราะถอนทิฏฐิได้ทั้งหมด
(องฺ.ทสก.อ. 3/96/369)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :228 }