เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 4. เจโตขีลสูตร
4. เจโตขีลสูตร1
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[14] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ ที่บุคคลผู้ใดผู้
หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ ที่
บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาด เมื่อกลางคืนหรือ
กลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้2แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีความเจริญเลย
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ ที่บุคคลนั้นยังละไม่ได้ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา3 จิตของภิกษุผู้
เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 1 ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ยังละไม่ได้
2. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ นี้เป็นกิเลส
เครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 2 ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
3. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็นกิเลส
เครื่องตรึงจิตดุจตะปู ประการที่ 3 ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้

เชิงอรรถ :
1 ดู ม.มู. 12/185-189/156-161, องฺ.ปญฺจก. 22/105-206/234-235, องฺ.นวก. 23/71-72/
380-381
2 พึงหวังได้ ในที่นี้หมายถึงจำต้องปรารถนา จำต้องได้ จำต้องมีแน่นอน (องฺ.ติก.อ. 2/70/214, องฺ.ฉกฺก.อ.
3/75/153)
3 ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ 32
ประการ ไม่เชื่อพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/205/85)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :22 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. นาถกรณวรรค 4. เจโตขีลสูตร
4. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา(ข้อที่จะต้องศึกษา)
ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 4 ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป
เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร ยังละไม่ได้
5. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ มีจิต
แข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ
มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ 5 ที่ภิกษุผู้
มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ ที่บุคคลนั้นยังละไม่ได้
กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ ที่บุคคลนั้นยังตัดไม่ขาด อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศ
จากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่
ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศ
จากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อนไม่ปราศจากความอยาก
ในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ 1
ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
2. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ 2 ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :23 }