เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 7. นัปปิยสูตร
9. ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น สรรเสริญการหลีกเร้น แม้การที่ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น
สรรเสริญการหลีกเร้น นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความเป็นอัน
เดียวกัน
10. ภิกษุเป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปฏิสันถาร สรรเสริญผู้ปฏิสันถารนี้ เป็นธรรมที่เป็น
ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ
ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ความปรารถนาจะไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาไม่เกิดขึ้นแก่ม้าอาชาไนยตัวเจริญ
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร มนุษย์ทั้งหลาย จะตั้งเราไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้เรากิน
อาหารสำหรับม้าอาชาไนย และปฏิบัติต่อเราอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลายก็ตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้กินอาหาร
สำหรับม้าอาชาไนย และปฏิบัติอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะมนุษย์ผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ซื่อตรง
ความคดที่ม้านั้นละได้แล้ว ฉันใด ความปรารถนาไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า
‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุ
นั้นละได้แล้ว ฉันนั้น
นัปปิยสูตรที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :198 }