เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 7. นัปปิยสูตร
9. ภิกษุเป็นผู้ไม่หลีกเร้น1 ไม่สรรเสริญการหลีกเร้น แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ไม่
หลีกเร้น ไม่สรรเสริญการหลีกเร้น นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น
ที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
10. ภิกษุไม่เป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารี ไม่สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร แม้
การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารี ไม่สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร
นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจารีทั้ง
หลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ม้าโง่อย่างนี้ว่า
‘ทำอย่างไร มนุษย์ทั้งหลายจะตั้งเราไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้กินอาหารสำหรับ
ม้าอาชาไนย และปฏิบัติต่อเราเหมือนอย่างม้าอาชาไนย’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น มนุษย์
ทั้งหลายก็ไม่ตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ไม่ให้กินอาหารสำหรับม้าอาชาไนย
และไม่ปฏิบัติอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมนุษย์ผู้รู้
ทั้งหลายพิจารณา เห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ซื่อตรง ความคดที่ม้านั้นยังละ
ไม่ได้ ฉันใด ความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพระเหตุไร
เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้
ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 50 (ภัณฑนสูตร) หน้า 106 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :196 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 7. นัปปิยสูตร
ว่าด้วยการไม่ก่ออธิกรณ์
1. ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ สรรเสริญการระงับ
อธิกรณ์ แม้การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ สรรเสริญการระงับ
อธิกรณ์ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ
เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
2. ภิกษุเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา แม้การที่
ภิกษุเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา นี้เป็น
ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง
เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
3. ภิกษุเป็นผู้มักน้อย สรรเสริญการกำจัดความปรารถนา แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้มักน้อย สรรเสริญการกำจัดความปรารถนา นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
4. ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ สรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่มักโกรธ สรรเสริญการกำจัดความโกรธ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
5. ภิกษุเป็นผู้ไม่ลบหลู่ สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่ลบหลู่ สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
6. ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่โอ้อวด สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
7. ภิกษุเป็นผู้ไม่มีมายา สรรเสริญการกำจัดมายา แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ไม่มี
มายา สรรเสริญการกำจัดมายา นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความ
เป็นอันเดียวกัน
8. ภิกษุเป็นผู้พิจารณาธรรม สรรเสริญการพิจารณาธรรม แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้พิจารณาธรรม สรรเสริญการพิจารณาธรรม นี้เป็นธรรมที่เป็นไป
ฯลฯ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :197 }