เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 5. กัตถีสูตร
ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศแล้ว
2. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธานี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศ
แล้ว
3. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้มี
สุตะน้อยนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
4. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ว่ายาก มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้ว่ายาก
นี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
5. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปาปมิตร’ ก็ความเป็นผู้มีปาปมิตรนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
6. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เกียจคร้าน’ ก็ความเป็นผู้เกียจคร้านนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
7. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ’ ก็ความเป็นผู้หลงลืมสตินี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
8. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลอกลวงโลก’ ก็ความเป็นผู้หลอกลวงโลกนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
9. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เลี้ยงยาก’ ก็ความเป็นผู้เลี้ยงยากนี้แล เป็นความเสื่อมใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
10. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาทราม’ ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสหายพึงกล่าวกับสหายอย่างนี้ว่า ‘สหาย
เมื่อใด ท่านมีกิจจำเป็นที่ต้องใช้ทรัพย์ ท่านควรบอกให้เราทราบ เราจะให้ทรัพย์แก่
ท่าน’ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อมีกิจบางอย่างที่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์เกิดขึ้น จึงบอก
กับสหายอย่างนี้ว่า ‘สหาย เราต้องการใช้ทรัพย์ ขอท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา’ สหาย
นั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ‘สหาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้‘สหายอีกฝ่ายหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :188 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 5. กัตถีสูตร
นั้นเมื่อขุดลงไป ณ ที่ตรงนั้น ก็ไม่พบทรัพย์ เขาจึงกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย ท่านได้
พูดเหลาะแหละไร้สาระกับเราว่า’ ‘ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ สหายนั้นจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘สหาย เราหาได้พูดเหลาะแหละไร้สาระกับท่านไม่ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุด
ลงไป ณ ที่ตรงนี้เถิด’ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเมื่อขุดลงไป ณ ที่ตรงนั้น ก็ยังไม่
พบทรัพย์ จึงกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย ท่านได้พูดเหลาะแหละไร้สาระกับเราว่า
‘ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ เขาจึงกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย เราหาได้พูดเหลาะแหละ
ไร้สาระกับท่านไม่ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเมื่อ
ขุดลงไป ณ ที่ตรงนั้น ก็ไม่พบทรัพย์อีก จึงพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย ท่านได้พูดเหลาะ
แหละไร้สาระกับเราว่า ‘ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ สหายนั้นก็พูดตอบอย่างนี้ว่า
‘สหาย เราหาได้พูดเหลาะแหละไร้สาระกับท่านไม่ แต่เราเองนี้แล ถึงความ เป็นผู้มี
สติฟั่นเฟือน ที่มิได้กำหนดรู้ด้วยใจ’ แม้ฉันใด
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการบรรลุ
คุณวิเศษว่า ‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าทุติยฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าตติยฌานก็ได้
ออกก็ได้ เข้าจตุตถฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาด
ในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อม
ถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญ
และความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณ
วิเศษว่า ‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :189 }