เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 4. พยากรณสูตร
ปุณณิยะ แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา 1 เข้าไปหา 1 เข้าไปนั่งใกล้ 1
สอบถาม 1 เงี่ยโสตฟังธรรม 1 ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ 1 พิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ 1 เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม 1 มีวาจา
งาม เจราจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคาย ให้รู้
ความหมายได้ 1 ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง 1 เมื่อนั้น ธรรมเทศนา
ของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ธรรมเทศนาของตถาคตประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล จึง
แจ่มแจ้งโดยแท้
ปุณณิยสูตรที่ 3 จบ

4. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัตตผล
[84] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ1เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป2’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาด
ในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม
สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น ภิกษุนั้นผู้ถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้

เชิงอรรถ :
1 กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ 4 คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดทุกข์ การทำให้แจ้งซึ่ง
ความดับทุกข์และการอบรมมรรคมีองค์ 8 ให้เจริญ (ที.สี.อ. 243/203)
2 ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความสิ้น
กิเลสอีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ. 243/203)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :184 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 4. พยากรณสูตร
ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น
ซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อมถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความ
ไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญและความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดใน
จิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่ง
ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
1. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักโกรธ มีใจถูกความโกรธกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูก
ความโกรธกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศแล้ว
2. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักผูกโกรธ มีใจถูกความผูกโกรธกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความผูกโกรธกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
3. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักลบหลู่ มีใจถูกความลบหลู่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความลบหลู่กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
4. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักตีเสมอ มีใจถูกความตีเสมอกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความตีเสมอกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
5. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความริษยา มีใจถูกความริษยากลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความริษยากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :185 }