เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 3. ปุณณิยสูตร
8. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่สันโดษ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
9. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
10. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) จักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานนท์ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล จักถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานนท์
1. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีศรัทธา จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
2. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีศีล จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
3. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
4. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ว่าง่าย จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
5. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี) จักถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
6. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
7. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
8. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้สันโดษ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
9. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มักน้อย จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :182 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 3. ปุณณิยสูตร
10. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) จักถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานนท์ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้ จักถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานันทสูตรที่ 2 จบ

3. ปุณณิยสูตร
ว่าด้วยพระปุณณิยะ
[83] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระธรรมเทศนาของ
พระตถาคตแจ่มแจ้งในบางคราว แต่ในบางคราว กลับไม่แจ่มแจ้ง
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา
ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง แต่เมื่อใด ภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา เมื่อนั้น
ธรรมเทศนาของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้ ... เข้าไปนั่งใกล้
แต่ไม่สอบถาม ... สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม เงี่ยโสตฟังธรรม แต่ไม่ทรงจำ
ธรรมไว้ ... ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ...
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่ไม่รู้อรรถ ไม่รู้ธรรม ไม่ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม รู้อรรถ รู้ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว แต่ไม่มี
วาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่
หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจา
ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ แต่ไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี
เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :183 }