เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 1. วาหุนสูตร
4. เถรวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถระ
1. วาหุนสูตร
ว่าด้วยพระวาหุนะ
[81] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งสระคัคคราโบกขรณี เขตกรุง
จัมปา ครั้งนั้นแล ท่านพระวาหุนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตทรงสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม
เท่าไรหนอ จึงมีพระหทัยปราศจากแดน 1 อยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วาหุนะ ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม
10 ประการ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากรูป จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
2. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากเวทนา จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
3. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากสัญญา จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
4. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากสังขาร จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
5. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากวิญญาณ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
6. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากชาติ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
7. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากชรา จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
8. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากมรณะ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
9. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากทุกข์ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
10. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากกิเลส จึงมีใจปราศจากแดนอยู่

เชิงอรรถ :
1 แดน ในที่นี้หมายถึงกิเลส (องฺ.ทสก.อ. 3/81-83/361)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :180 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 2. อานันทสูตร
วาหุนะ ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม 10 ประการนี้ จึงมีใจปราศ
จากแดนอยู่ เปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม ดอกปุณฑริกที่เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ ขึ้นพ้นจากน้ำ ไม่ติดอยู่กับน้ำ ฉะนั้น
วาหุนสูตรที่ 1 จบ

2. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[82] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
อานนท์
1. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
2. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ทุศีล จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
3. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีสุตะน้อย จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
4. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ว่ายาก จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
5. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว) จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
6. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้เกียจคร้าน จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
7. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้หลงลืมสติ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :181 }