เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 6. ตโยธัมมสูตร
5. บุคคลละธรรม 3 ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความหลงลืมสติ ความไม่มี
สัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ
(2) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ
(3) ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความหลง
ลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
6. บุคคลละธรรม 3 ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็น
พระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิด
แข่งดีได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความฟุ้งซ่าน (2) ความไม่สำรวม
(3) ความเป็นผู้ทุศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความ
เป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้
7. บุคคลละธรรม 3 ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม
และความเป็นผู้ทุศีลได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความไม่มีศรัทธา (2) ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
(3) ความเกียจคร้าน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :174 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 6. ตโยธัมมสูตร
8. บุคคลละธรรม 3 ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้
มีใจไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความไม่เอื้อเฟื้อ (2) ความเป็นผู้ว่ายาก
(3) ความเป็นผู้มีปาปมิตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
9. บุคคลละธรรม 3 ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความ
เป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความเป็นผู้ไม่มีหิริ (2) ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
(3) ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 3 ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้ (9)
10. บุคคลนี้เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นผู้ไม่ประมาท บุคคลนั้นเมื่อไม่
ประมาท จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
เมื่อมีกัลยาณมิตร จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
และความเกียจคร้านได้ เมื่อปรารภความเพียร จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่
สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้ เมื่อมีศีล จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็น
พระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิด
แข่งดีได้ เมื่อมีจิตไม่คิดแข่งดี จึงอาจละความหลงลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ
ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ เมื่อมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน จึงอาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตไม่หดหู่ จึงอาจละสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ เมื่อไม่มีวิจิกิจฉา จึงอาจละราคะ โทสะ และ
โมหะได้ ครั้นละราคะ โทสะ และโมหะ ได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และมรณะได้
ตโยธัมมสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :175 }