เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 6. ตโยธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละการมนสิการ
โดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้
5. บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความหลงลืมสติ ความไม่
มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ
(2) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ
(3) ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความหลง
ลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
6. บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะ
เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิต
คิดแข่งดีได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความฟุ้งซ่าน (2) ความไม่สำรวม
(3) ความเป็นผู้ทุศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และ
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้
7. บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่
สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความไม่มีศรัทธา (2) ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
(3) ความเกียจคร้าน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :171 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 6. ตโยธัมมสูตร
8. บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็น
ผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความไม่เอื้อเฟื้อ (2) ความเป็นผู้ว่ายาก
(3) ความเป็นผู้มีปาปมิตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่มี
ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
9. บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความ
เป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
(1) ความไม่มีหิริ (2) ความไม่มีโอตตัปปะ
(3) ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม 3 ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ
ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
10. บุคคลนี้เป็นผู้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เป็นผู้ประมาท บุคคลนั้น เมื่อ
ประมาท จึงไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มี
ปาปมิตรได้ เมื่อมีปาปมิตร จึงไม่อาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
และความเกียจคร้านได้ เมื่อเกียจคร้าน จึงไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม
และความเป็นผู้ทุศีลได้ เมื่อทุศีล จึงไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ
ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ เมื่อ
มีจิตคิดแข่งดี จึงไม่อาจละความหลงลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่าน
แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตฟุ้งซ่าน จึงไม่อาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด
และความหดหู่แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตหดหู่ จึงไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ
สีลัพพตปรามาสได้ เมื่อมีวิจิกิจฉา จึงไม่อาจละราคะ โทสะ และโมหะได้ ครั้นละ
ราคะ โทสะ และโมหะยังไม่ได้ จึงไม่อาจละชาติ ชรา และมรณะได้
1. บุคคลละธรรม 3 ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และมรณะได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :172 }